การอาชีวศึกษา ตั้งเป้าปี’66 เพิ่มผู้เรียนทวิภาคี 1 แสนคน

การอาชีวศึกษา ตั้งเป้าปี’66 เพิ่มผู้เรียนทวิภาคี 1 แสนคน

ว่าที่ร้อย ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการนำนโยบายและแนวปฏิบัติการรับ นักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ประจำปีการศึกษา 2566 ไปสู่การปฏิบัติ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

โดยมีผู้บริหารระดับสูง และผู้อำนวยการสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน เข้าร่วมการประชุมกว่า 1,000 คน โดยว่าที่ร้อย ธนุ วงษ์จินดา ได้กล่าวว่า นโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน นักศึกษา สังกัด สอศ. ประจำปีการศึกษา 2566 มีหลักการ ดังนี้ ยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนค้นหา หรือเลือกเรียนในสายอาชีพที่ตนเองมีความถนัดหรือสนใจ มุ่งเน้นการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้มากขึ้น ตลอดจนจัดการศึกษาร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ยกระดับความร่วมมือ บูรณาการกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และสถานประกอบการในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นและเส้นทางในการมีงานทำของผู้เรียน

โดยเน้นการต่อยอดหลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ พร้อมกับขยายโอกาส ส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนทุกคนได้รับโอกาสได้รับศึกษาระดับอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาภาครัฐ เน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาวิชาที่ขาดแคลน สาขาวิชาที่เป็นความต้องการของประเทศ และให้สถานศึกษาภาคเอกชน เน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนตามศักยภาพและความพร้อม

ว่าที่ร้อย ธนุ วงษ์จินดา

ว่าที่ร้อยตรีธนุกล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางปฏิบัติในการรับนักเรียน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) นั้น ให้อาชีวศึกษาจังหวัด (อศจ.) จัดประชุมทุกสถานศึกษาในจังหวัดทั้งรัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการรับนักเรียน นักศึกษา ปีการศึกษา 2566 ให้สอดคล้องตามนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน นักศึกษา ของ สอศ. และให้สถานศึกษาดำเนินการรับนักเรียน นักศึกษาให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจหลักของแต่ละประเภทสถานศึกษา โดยให้เป็นไปตามความถนัดและความเชี่ยวชาญ ดังนี้

1.กลุ่มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เน้นการจัดการเรียนการสอนในประเภทวิชาเกษตรกรรมและประมงที่มีความทันสมัย ตอบโจทย์เกษตรอัจฉริยะ เกษตรสมัยใหม่ สอดคล้องตามความต้องการของพื้นที่และประเทศ ทั้งนี้ สามารถเปิดรับนักเรียนระดับ ปวช. และ ปวส. นอกประเภทวิชาเกษตรและประมงได้ตามศักยภาพและความพร้อม

2.กลุ่มวิทยาลัยสารพัดช่าง เน้นการจัดการเรียนการสอนในประเภทวิชาที่สอดคล้องตามความต้องการของพื้นที่และประเทศ

3.กลุ่มวิทยาลัยเทคนิค เน้นการจัดการเรียนการสอนในประเภทวิชาอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องตามความต้องการของพื้นที่และประเทศ

4.กลุ่มวิทยาลัยอาชีวศึกษา เน้นการจัดการเรียนการสอนในประเภทวิชาพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ คหกรรม ศิลปกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้สอดคล้องตามความต้องการของพื้นที่และประเทศ

5.กลุ่มวิทยาลัยประเภทอื่นๆ ให้จัดการเรียนการสอนตามบทบาทภารกิจหลักของแต่ละประเภทสถานศึกษา ให้สอดคล้องตามความต้องการของพื้นที่และประเทศ

“ส่วนปฏิทินการรับนักเรียน นักศึกษา ปีการศึกษา 2566 มีดังนี้ รายงานแผนการรับนักเรียนนักศึกษา มาที่ สอศ. 1 มีนาคม สถานศึกษาเปิดรับสมัคร 11-15 มีนาคม ทดสอบความรู้ 26 มีนาคม ประกาศผล 30 มีนาคม และมอบตัว 2 เมษายน ซึ่งที่ผ่านมา ผมได้เน้นย้ำให้สถานศึกษาขับเคลื่อน 9 นโยบายเร่งด่วนและ 5 นโยบายหลัก โดยเฉพาะการส่งเสริมการเรียนการสอนแบบระบบทวิภาคีแนวใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการอาชีวศึกษา โดยเพิ่มจำนวนผู้เรียนให้ได้ถึงประมาณ 511,177 คน ในปีการศึกษา 2568 หรือคิดเป็น 50% ของนักเรียนทั้งหมด แต่ขณะนี้ สอศ.มีผู้เรียนในระบบทวิภาคีประมาณ 150,000 คนเท่านั้น ดังนั้น ในปีการศึกษา 2566 นี้ สอศ. มีเป้าหมายในการเพิ่มผู้เรียนในระบบทวิภาคี ให้ได้ 10% จากผู้เรียนอาชีวะทั้งหมด 1.2 ล้านคน ซึ่งเท่ากับว่า ปี 66 จะต้องเพิ่มผู้เรียนทวิภาคีให้ได้อีก ประมาณ 100,000 คน รวมเป็น 250,000 คน ส่วนการเพิ่มผู้เรียนอาชีวะภาพรวม ปีการศึกษา 2566 สอศ.ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่ม 10% เช่นกัน คือ จาก 1.2 ล้านคน เป็น 1.3 ล้านคน” ว่าที่ร้อยตรีธนุกล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ applebasketantiques.com

แทงบอล

Releated